วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

อาหาร

อาหารไทย - อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

อาหารไทยมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการผสมผสาน
ทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยา เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ
สูงสุดทั้งในแง่การป้องกัน การบำรุงและการรักษา


เครื่องปรุงอาหารไทยที่สะท้อนให้เห็นสรรพคุณทางยาและสมุนไพร
มีหลายอย่างเช่น

กระเพรา ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ,ขับลม,ขับเสมหะ,บำรุงธาตุ เพิ่มน้ำนมในหญิงหลังคลอด

กระชาย แก้บิด,แก้ปวดท้อง,แก้ท้องร่วง,บำรุงหัวใจ

กระเทียม แก้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด, ลดความดันโลหิตสูง, ขับลม
ขับเสมหะ, แก้จุกเสียด,ขับพยาธิเส้นด้าย

ขิง แก้ขับลม, ขับเสมหะ, แก้จุกเสียดแน่นท้อง, แก้คลื่นไส้อาเจียน
ขับเหงื่อ ขยายหลอดเลือดใต้ผิวหนัง

ข่า ช่วยแก้ลมพิษ, แก้บิด, ช่วยย่อยอาหาร,แก้ฟกช้ำ

ตะไคร้ แก้ขับลม, ท้องอืด, แน่นจุกเสียด, ขับปัสสาวะแก้นิ่ว

ผักชี ขับลม, แก้ไข้, แก้ไอ, บำรุงธาตุ

พริก แก้บิด, กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้เจริญอาหาร,
ลดอาการอักเสบ, ละลายลิ่มเลือด, ป้องกันมะเร็งในลำไส้

ใบมะกรูด ขับลมในลำไส้, แก้จุกเสียด

มะนาว แก้ไอ, แก้เจ็บคอ, ขับเสมหะ, แก้เหงือกบวมและเลือดออก
ตามไรฟัน

อาหารไทยที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางโภชนาการ ยาสมุนไพร
และทางภูมิปัญญาคือ

แกงเลียง เป็นอาหารที่ให้แร่ธาตุแคลเซียม,ฟอสฟอรัส,เหล็กและ
ให้วิตามินเอสูงเหมาะสำหรับกินให้แม่ลูกอ่อนมีน้ำนมมาก เป็นอาหารบำรุงร่างกาย,
บำรุงตาราคาถูก,ปลอดสารพิษเพราะปรุงจากผักพื้นบ้านเป็นหลัก


ต้มยำ เป็นอาหารให้พลังงานให้โปรตีนสูงมีเครื่องปรุงสมุนไพรนานาชนิด
แก้หวัดและลดความดันโลหิตสูง

สะเดาน้ำปลาหวาน เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมากแต่ให้ไขมันต่ำ
มีทั้งแร่ธาตุ,แคลเซียม,วิตามินเอ,วิตามินบี1, วิตามินซี ช่วยแก้ไขหัวลม
บรรเทาความร้อน, ช่วยปรับธาตุให้สมดุล


         ต้มข่าไก่ใบมะขามอ่อน สูตรเด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ เห็นชื่อเมนูแล้วเรียกน้ำลายกันได้เลยน่ะค่ะ ว่าต้องอร่อยแน่นอน งั้นลองไปดูวิธีการทำกันได้เลยค่ะ
ส่วนผสม-เครื่องปรุง
  • ปีกไก่บน  หรือสะโพกไก่  
  • เห็ดนางฟ้า
  • มะเขือเทศราชินี
  • ข่า, ตระไคร้, ใบมะกรูด, หอมแดง
  • ใบมะขามอ่อน, ต้นหอม, ผักชี, พริกขี้หนูสด, พริกแห้ง
  • น้ำมะขามเปียก, น้ำปลา
  • กะทิกล่อง ( 1 กล่อง)
  • น้ำพริกเผา 1 ช้อน
ขั้นตอนวิธีทำ
  1. เริ่มจากต้มไก่ให้สุกก่อน ระหว่างต้มก็ตักฟองออกด้วยนะคะ ต้มนานจนเนื้อเปื่อย แล้วใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด
  2. จากนั้นใส่พริกขี้หนู เพื่อให้ได้รสชาติน้ำซุปเผ็ด ๆ ตามด้วยกะทิลงไป ตอนนี้ใช้ไฟอ่อน ๆ ค่ะ
  3. พอน้ำเดือดแล้วใส่เห็ดนางฟ้า  และมะเขือเทศ ปรุงรสด้วยน้ำพริกเผา น้ำปลา และน้ำมะขามเปียก (น้ำมะขามเปียกไม่ต้องใส่เยอะนะคะ เพราะเวลาใสใบมะขามอ่อนจะเปรี้ยวขึ้นไปอีก) 
  4. ใส่พริกแห้ง เพิ่มความหอม และเผ็ดร้อน
  5. ปรุงรสได้ที่แล้ว ใส่ต้นหอม ผักชี และใบมะขามอ่อน เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย พร้อมเสิร์ฟ

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาเอนกประสงค์ใช้เอง


น้ำยาเอนกค์ประสงค์

ทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้เอง



สืบเนื่องมาจากได้รับตำแหน่งประธานกลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์นี่แหละ เลยได้เข้ามาเจอเวปนี้ ทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าจำหน่ายในหมู่บ้าน ทีแรกก็มีวิทยากรมาสอนจ่ายค่าสูตรไปอย่างละ 2 พัน พอหมดวัตถุดิบติดต่อวิทยากรไม่ได้แล้วข้อมูลที่ได้รับมาวัตถุดิบต้องสั่งซื้อจากกรุงเทพเท่านั้น คนละสูตรกับ ธกส หลังจากนั้นเลยพยายามหาข้อมูลเอง
  วันนี้อยากนำเสนอ ทำน้ำยาเอนกประสงค์ สารพัดใช้ ทั้งล้างจาน ล้างห้องน้ำ ล้างรถ อาบน้ำหมา ซักผ้า
วัตถุดิบ
1.เอ็น 70        1     ก.ก.
2.เกลือปรุงทิพย์  1.5   ก.ก.
3.กรดมะนาว      1     ขีด(น้ำหมักผลไม้รสเปรี้ยว3ลิตร)
4.น้ำ             18    ลิตร
5.ผงฟอง         1     ขีด
6.F.24          0.5   ก.ก.
7.เลมอน(หัวน้ำหอม)1ขวด
  หมายเหตุ -อาจจะใช้สีผสมอาหารละลายน้ำใส่ไปเล็กน้อยอย่าใส่เยอะ เพิ่มสีสัน
             -ถ้าใช้น้ำหมักผลไม้รสเปรี้ยวจำเป็นต้องใส่สารกันบูด หรือ ใช้น้ำยาล้างจานจากท้องตลาดมาผสมสัก 1ถุงแทนสารกันบูด
             -การกวนให้กวนตามเข็มนาฬิกาไม่กวนกลับไปกลับมาเพื่อให้เกิดฟองอากาศน้อย
             -น้ำที่ใช้ละลายกับเกลือ กรดมะนาว ผงฟอง ให้ใช้น้ำที่ตวงไว้ 18 ลิตร หากใช้น้ำหมัก ให้ลดน้ำลง 3 ลิตร
วิธีทำ
1.เอาเกลือทั้งหมดละลายกับน้ำให้ได้น้ำเกลือประมาณ 3 ลิตร
2.นำเอ็น 70 ใส่ภาชนะกวนประมาณ 5 นาที
3.ค่อยๆเติมน้ำเกลือที่ละลายน้ำไว้ กวนไปเติมไป เหลือน้ำเกลือไว้ 1 ลิตร ประมาณ 5 นาที
4.กรดมะนาว ละลายน้ำ 1 ลิตร ผสมลงไปกวน ประมาณ 5 นาที
5.เติมน้ำ ทั้งหมด เหลือไว้ละลายผงฟอง 1 ลิตร
6.ผงฟองละลายน้ำ 1 ลิตรผสมลงไปกวน 5 นาที
7.เติม F.24 กวน 5 นาที
8.เติมน้ำเกลือที่เหลือกวน 5 นาที เติมเลมอนกวนต่อสักพัก
เสร็จแล้วพักไว้ให้ฟองยุบตัวอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ค่อยใส่ขวด



ที่มา  http://www.bansuanporpeang.com/node/2274
ขั้นตอนทำหัวเชื้อจุลินทรีย์
นำเปลือกมะนาว  มะกรูด ส้ม สัปรด มังคุด มะเฟือง มะขาม ขมิ้นชัน ดอกอัญชัญ  อย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะหาได้  มาในอัตราส่วน 3 ส่วน   แล้วนำน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วนมาผสมให้เข้ากัน   ใส่ถังปิดฝาให้สนิท  ทุกๆ 5 วันเปิดฝาให้กาซระบายออก  สังเกตถ้าขึ้นฝ้าสีขาวแสดงว่าปริมาณน้ำตาลไม่พอให้เพิ่มลงไป   พอครบ 1 เดือน นำมากรองเอาแต่น้ำ  เท่านี้ก็จะได้หัวเชื้อจุลินทร์สีน้ำตาลไหม้
จากนั้น  นำหัวเชื้อมาขยาย  โดยใช้เพียง 20 ช้อนโต๊ะ  ผสมกับ  พืชสมุนไพร(เลือกตามที่ชอบดังรายการตอนที่ทำหัวเชื้อ)  ปริมาณ 1 กิโลกรัม   น้ำสะอาด 5 ลิตร   น้ำตาลทรายแดง 20 ชั้นโต๊ะ  ใส่ถังปิดฝาสนิทประมาณ 15-30 วัน นำออกมากรองเอาน้ำที่จะใช้ทำน้ำยาล้างจาน
แต่ขั้นตอนดังกล่าว  ต้องทำไว้ก่อนล่วงหน้า  เราใจร้อนเลยไปซื้อมาก่อน
ที่นี้มาถึงตอนที่จะทำน้ำยาล้างจานจริงแล้วนะครับ  ง่ายๆ เลยครับ
ส่วนผสม
น้ำจุลินทรีย์มะนาว   2 ลิตร
น้ำจุลินทรีย์มะกรูด  0.5 ลิตร
เกลือ  0.5 กิโลกรัม
หัวเชื้อ N70  2 กิโลกรัม
และน้ำสะอาดปราศจากสารเคมีใดๆ แม้แต่คลอรีน  7 ลิตร
กลิ่นมะนาว  1 ออนซ์

ขั้นตอนการทำ
นำน้ำจุลินทรีย์ทั้ง 2 ชนิดมาผสมกัน  จากนั้นใส่เกลือลงไป ค่อยๆใส่ทีละนิดแล้วกวนให้เกลือละลาย
นำหัวเชื้อ N70 มาเทลงในถัง (ขนาดประมาณถังสีทาบ้านใบใหญ่)  แล้วเทนำจุลินทรีย์ที่ละลายเกลือลงไปแล้ว   ใช้ไม้พายค่อยกวนให้เข้ากัน

จากนั้น  ค่อยๆใส่น้ำสะอาดที่เตรียมไว้  ค่อยๆใส่ทีละนิดแล้วกวนให้เข้ากัน   กวนไปเรื่อยๆ สลับเติมน้ำ  ทำไปอย่างนี้จนกว่าน้ำจะหมดทั้ง 7 ลิตร   ในช่วงที่ใส่น้ำประมาณ 3-4 ลิตร  การกวนจะหนักนิดหนึ่ง  คล้ายๆกับการกวนแป้ง  หรือขนมข้นๆอย่างนั้นแหละครับ
สุดท้ายเหยาะกลิ่นมะนาวลงไปแล้วกวนให้เข้ากันอีก
จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 8 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้ยุบตัว  แล้วค่อยนำมากรอกใส่ขวด หรือภาชนะที่เก็บเอาไว้ใช้ต่อครับ 

เสร็จแล้วผมลองทดสอบคุณภาพ  โดยการล้างจานมื้อเช้า  ปรากฏว่าค่อนข้างดี  ฟองเยอะ และรู้สึกว่าจานสะอาดดี 

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของมะละกอ

ประโยชน์ของมะละกอ สรรพคุณและการใช้ประโยชน์จากมะละกอ (Papaya)

มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของมะละกอมีมากมายไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหารเช่น แกงส้มมะละกอ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นชามะละกอ หรือแม้แต่นำผลสุกมาปอกกินเล่นก็ยังมีประโยชน์ช่วยให้ขับถ่ายง่ายป้องกัน ท้องผูก อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่ายการปลูกมะละกอไม่ต้องการการดูแลมากอาศัย พื้นที่ว่างบริเวณรั้วบ้านก็ใช้เป็นที่ปลูกมะละกอได้แล้วเพียงแต่ต้องคอย ระวังอย่าให้มีน้ำท่วมในบริเวณที่ปลูกมะละกอก็พอ ยอมเสียพื้นที่ในการปลูกมะละกอไว้แถวบริเวณบ้านสัก 1-2 ต้นรับรองว่าประโยชน์ของมะละกอที่ได้รับจะคุ้มเกินคุ้มอย่างแน่นอน

มะละกอ (Papaya) เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นจะอ่อน ลักษณะผลของมะละกออาจมีรูปร่างทั้งเป็นลูกกลมหรือทรงยาวรีแล้วแต่พันธุ์ของ มะละกอ มะละกอที่ยังดิบอยู่เปลือกนอกจะมีสีเขียวพอผลมะละกอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองออกส้ม มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้ มะละกอเป็นพืชที่นิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้านวิธีการปลูกมะละกอทำได้ง่ายเพราะ มะละกอเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนักและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากมีต้นมะละกอในบริเวณบ้านระวังอย่าให้น้ำท่วมก็พอ ประโยชน์ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้นเลยทีเดียว

ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับ หัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็ม หรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการ สูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น

ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายาง มะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้น เมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย  ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ ชามะละกอ ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกิน อาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสาร อาหารทำงานได้เต็มที่

ประโยชน์ของมะละกอที่เห็นอยู่ทุกวันคือการนำไปปรุงเป็นอาหารคือ ส้มตำ (Papaya Salad)  ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  ส่วน ผลมะละกอสุกสามารถปอกกินเป็นผลไม้ได้เลย ประโยชน์ของมะละกอที่เป็นผลสุกคือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อนๆทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ผลมะละกอสุกยังสามารถนำไปทำเป็น น้ำมะละกอ ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน (Papain Enzyme) ที่อยู่ในผลมะละกอจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของมะละกอสุกยังมีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยซึ่งเป็นประโยชน์ของมะละกอในด้านความสวยความงามนั่นเอง

ประโยชน์จากไม้ไผ่

ประโยชน์ของไผ่
1.ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
        ไม้ไผ่ที่นำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย คุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องแปรรูปและแปรรูป และเป็นไม้ที่มีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี จึงมีการนำไม้ไผ่มาสร้างเป็นบ้านเรือนที่พักอาศัยกันทั่วไป เช่นเรือนไม้ไผ่ในประเทศไทยที่เรียกว่า “เรือนเครื่องผูก” ที่สร้างด้วยไม้ไผ่แทบทั้งหมด ตั้งแต่ใช้เป็นโครงสร้างและส่วนประกอบของบ้านเรือน ได้แก่ ใช้ลำไม้ไผ่เป็นเสา โครงหลังคา และใช้ไม้ไผ่แปรรูปด้วยการผ่าเป็นซีกๆ เป็นพื้นและสานเป็นแผงใช้เป็นฝาเรือน เป็นต้น
         ชาวชนบทที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนักมักสร้างเครื่องเรือนผูกเป็นที่อยู่ อาศัย เพราะสามารถสร้างได้เองโดยใช้ไม้ไผ่และวัสดุที่มีในท้องถิ่นของตนมาประกอบ กันเป็นเรือนที่พักอาศัย รูปแบบของเรือนเครื่องผูกจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่นโดยทั่ว ไปจะใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง
2.เครื่องมือเครื่องใช้
        งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนและชีวิตประจำวัน งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์มาช้านานและอาจจะเป็น เครื่องใช้ในครัวเรือนที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันออกนั้น มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่มาแต่โบราณ เช่น ตะเกียบไม้ไผ่ของจีน เป็นเครื่องมือการกินอาหารที่ทำอย่างง่ายๆ แต่ใช้ประโยชน์ได้อย่างดี ก่องข้าวและกระติบสำหรับใส่ข้าวเหนียวของชาวอีสานและชาวเหนือ เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นความชาญฉลาดในการนำไม้ไผ่มาแปรรูปเป็น ภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งได้ดีเท่าก่องข้าวและกระติบที่สานด้วยตอก
        นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเป่าไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟืน ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็นไม้ค้ำยันในการทำการเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็นหลักปักกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุใบชา ของป่าต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้าน
3.เครื่องมือประกอบอาชีพและเครื่องเรือน
        งานไม้ไผ่ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีใช้กันอย่างกว้างขวาง ในสังคมเกษตรกรรมของชาวเอเชีย เพราะไม้ไผ่เป็นวัสดุที่หาได้ไม่ยากและชาวบ้านสามารถทำใช้สอยได้เอง เฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาทำไร่จำนวนมากจึงทำมาจากไม้ไผ่ เช่นคราด คานหลาว คานกระบุง กระพ้อม ครุ (ครุหรือแอ่ว ของภาคเหนือใช้สำหรับตีหรือฟาดข้าว ให้เมล็ดข้างหลุดออกจากรวง เป็นเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด) เลื่อน วี โพง ฯลฯ
        นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเป่าไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟืน ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็นไม้ค้ำยันในการทำการเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็นหลักปักกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุใบชา ของป่าต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้านงานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องเรือนและเครื่อง ตกแต่ง งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในหลายประเทศ เช่น ทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน แม้บางชนิดจะดูเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ไม่มีราคามากนัก แต่ใช้ประโยชน์ได้ดีเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ เช่น คนไทยใช้ไม้ไผ่ทำแคร่ ทำเปลไว้นอนเล่นในฤดูร้อน เพราะแคร่และเปลไม้ไผ่นั้นโปร่ง อากาศผ่านได้จึงไม่ร้อนกล่าวกันว่า เมื่อครั้งที่พ่อค้าชาวดัชท์ (Datch) เข้ามาค้าขายในตะวันออกไกลครั้งแรก พวกเขารู้สึกประหลาดใจมากที่เห็นคนพื้นเมืองนอนอยู่บนเตียงไม้ไผ่ที่พื้น เตียงทำด้วยไม้ไผ่เป็นซีกๆ เปิดโล่งให้ลมผ่านได้ เตียงลักษณะนี้จะช่วยคลายร้อนได้มากในคืนที่มีอากาศร้อน เตียงชนิดนี้เป็นที่มาของคำว่า “bamboo princess” ต่อมากลายเป็นคำว่า ” Datch wife” เป็นคำที่รู้กันในหมู่ชาวตะวันออก เครื่องเรือนไม้ไผ่นั้นมีความงดงามที่เรียบง่าย แฝงแนวคิดและปรัชญาแบบตะวันออกด้วยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวญี่ปุ่นใช้ไม้ไผ่เป็นเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่งบ้านอย่างเห็นคุณค่ามา ช้านาน เช่นไม้ไผ่ทำเป็นฝาบ้าน รั้ว ประตูหน้าต่าง มู่ลี่ เป็นต้น
4.เครื่องดนตรีและอาวุธ
        งานไม้ไผ่ที่ทำเป็นเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ไผ่เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่อย่างหนึ่งของชาวเอเชีย เฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดนตรีที่ทำจากลำไม้ไผ่อย่างง่ายๆ ประเภท “ขลุ่ย” นั้นมีอยู่หลายประเทศ ได้แก่ ขลุ่ยไทย ขลุ่ยญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่เก่าแก่อีกประเภทหนึ่ง คือเครื่องดนตรีที่ใช้ตีลงบนไม้ไผ่อย่าง “ระนาด” ของไทยนั้นมีอยู่ในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเรียกว่า “kamelan” เครื่องดนตรีทำจากไม้ไผ่ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ อังกะลุง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เสียงกระทบกันของไม้ไผ่ที่มีขนาดต่างกัน ทำให้เกิดเสียงต่างกัน อังกะลุง นับเป็นเครื่องดนตรีที่เกิดจากคุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่อย่างแท้จริง
         งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นอาวุธ งานไม้ไผ่ประเภทนี้ ทำขึ้นจากคุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่ ที่มีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวตลอดลำจึงทำให้มีเนื้อเหนียวไม่หักง่ายและมีแรงดีด คืนตัว ชาวเอเชียจึงใช้ไม้ไผ่เป็นคันกระสุน คันธนู และลูกธนู ซึ่งมีทำกันในหลายประเทศ เช่น ธนู ลูกธนูของญี่ปุ่นและเกาหลี เป็นอาวุธที่ทำจากไม้ไผ่ที่ใช้ความประณีตในการคัดเลือกไม้ที่มีคุณภาพและ ต้องใช้ช่างที่มีฝีมือสูงในการเหลาและตัดไม้ไผ่ให้เป็นคันธนูหรือคันหน้าไม้ เพื่อดีดลูกธนูหรือลูกศรเช่นเดียวกัน อาวุธที่ทำจากไม้ไผ่ของไทยที่ใช้กันแพร่หลายชนิดหนึ่งคือ กระสุน ซึ่งคันกระสุนทำด้วยไม้ไผ่แก่เนื้อดี นำมาเหลาและดัดให้ได้รูปทรงและมีขนาดเหมาะตามความต้องการ กระสุนจะใช้ยิงด้วยกระสุนที่ปั้นด้วยดินเหนียวเป็นลูกกลมขนาดประมาณเท่าหัว แม่มือ กระสุนเป็นอาวุธโบราณอย่างหนึ่งที่ใช้ยิงคนและยิงสัตว์ต่างๆ ที่ใช้กันทั่วไปในขนบท นอกจากนั้นยังนำไม้ไผ่มาทำเป็นอาวุธ จำพวกลูกดอกและลำกล้องเป่าลูกดอก ใช้เป็นไม้กระบอง ไม้ตะพดจนถึงการนำไม้ไผ่มาปาดให้แหลมเป็นปากฉลามที่เรียกว่า “ขวาก” ใช้ดักคนหรือสัตว์ที่รุกล้ำเข้ามาในเขตหวงห้าม เป็นต้น
5.พิธีกรรมและความเชื่อ
         งานไม้ไผ่ที่ใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อไม้ไผ่มีความสัมพันธ์กับความ เชื่อของชาวเอเชียมาช้านาน โดยเฉพาะชาวจีนและญี่ปุ่นนั้น ไผ่เป็นไม้มงคลและเป็นสัญลักษณ์ของความแหลมและเจริญงอกงามของสติปัญญาดุจ เดียวกับความแหลมคมของหนามไผ่ หน่อไผ่และการเติบโตอย่างรวดเร็ว
           สำหรับคนไทยนั้น ไม้ไผ่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น คนไทยโบราณมักสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาวินาทีแรกที่เรียกว่า ตกฟาก นั้นเพราะทารกตกลงบนพื้นเรือนที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่สับเป็นซี่ๆ ที่เรียกว่า “ฟาก” นั่นเอง
          หลังจากนั้น เมื่อถึงเวลาตัดสายสะดือหมอตำแยก็ใช้ไม้ไผ่มาผ่าเป็นซีก แล้วรนไฟ เพื่อใช้ตัดสายสะดือทารก แทนการใช้เหล็กหรือของมีคมอื่นๆ ความเชื่อนี้มีอยู่ทั่วไปในหลายประเทศในเอเชีย หลังจากตัดสายสะดือแล้วคนไทยจะนำเด็กนอนไว้ใน “กระด้ง” ซึ่งสานด้วยไม้ไผ่คลุมด้วยแหและเพื่อป้องกันผีร้าย สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อเกี่ยวกับไม้ไผ่ที่มีมาช้านาน  เมื่อเกิดอยู่นานร่างกายชราภาพก็ต้องใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นไม้เท้า ครั้นถึงเวลาตายก็ต้องนำศพไปวางบนแคร่ไม้ไผ่ เวลาเผาศพ ก็ต้องตัดไม้ไผ่ลำตรงๆ สดๆ สำหรับแทงศพกลับไปกลับมาเพื่อให้ไหม้ให้หมด เรียกไม้ไผ่ชนิดนี้ว่า “ไม้เสียบผี”ประเพณีค้ำโพธิ์ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ในตอนเช้าชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายเล่นกีฬา และช่วยกันเอาไม้ไผ่ลำโตๆ มาค้ำกิ่งโพธิ์ตามวัดไม่ให้กิ่งโพธิ์หัก ถือว่าได้บุญแรงและเชื่อกันว่าจะมีอายุยืน ประเพณีแห่บั้งไฟของชาวอีสาน จะนำไม้ไผ่ลำโตๆ
แหล่งข้อมูล: http://www.culture.go.th/knowledge/story/bamboo/bamboo.html

คุณสมบัติและประโยชน์ของไม้แต่ละชนิด



คุณสมบัติและประโยชน์ของไม้แต่ละชนิด

ในที่นี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติและประโยชน์ของไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้อแข็งปานกลาง และไม้เนื้ออ่อน ที่ควรทราบตามลำดับ ดังนี้
1) ไม้เนื้อแข็ง
มีหลายชนิด เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ซึ่งมีคุณสมบัติและประโยชน์ที่ควรทราบดังต่อไปนี้

1.1) ไม้เต็ง เป็น ต้ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ตามป่าแดดทั่วไปยกเว้นภาคใต้ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อน เมื่อแรกตัดทิ้งไว้นาน จะเป็นสีน้ำตาลแก่แกมแดง เสี้ยนสับสน เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอแข็งเหนียวแข็งแรง และทนทานมากแห้งแล้วเลื่อยไสกบตกแต่งได้ยาก น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1,040 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำหมอนรางรถไฟเครื่องมือกสิกรรมโครงสร้างอาคาร เช่น ตง คาน วงกบ ประตูหน้าต่าง โครงหลังคา เสา

1.2) ไม้รัง เป็นต้นไม้ขนาด กลางถึงขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ตามในป่าแดดทั่วไป ลักษณะเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมเหลือง เสี้ยนสับสน เนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ แข็ง หนัก แข็งแรง และทนทานมาก เลื่อยไสกบตกแต่งค่อนข้างยาก เมื่อแห้งจะมีลักษณะคุณสมบัติคล้ายไม้เต็ง จึงในบางครั้งเรียกว่าไม้เต็งรังน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำเสาและโครงสร้างอาคารต่างๆ ทำหมอนรางรถไฟ ทำเครื่องมือกสิกรรม

1.3) ไม้แดง เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น ลักษณะของเนื้อไม้มีสีแดงเรื่อๆ หรือ สีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นลูกคลื่นหรือสับสน เนื้อละเอียดพอประมาณ แข็ง เหนียวแข็งแรงและทนทาน เลื่อยใสกบแต่งได้เรียบร้อยขัดชักเงาได้ดีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 960 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไม้นี้นิยมในการก่อสร้างในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง เช่น พื้น วงกบประตูหน้าต่าง ทำเกวียน ทำเรือหนอนรางรถไฟ เครื่องเรือน เครื่องมือกสิกรรม ด้านเครื่องมือ คันชั่ง ไม้แดงนี้ปลวกหรือเพรียงจะไม่ค่อยรบกวน และเป็นไม้ที่ต้านทานไฟในตัวด้วย

ไม้แดง เป็นไม้ที่มีความแข็งมาก ทำให้เวลาเกิดความชื้นหรือร้อน และขยายตัว จะดันจนกำแพงแตกได้ (กรณีเป็นพื้น) หรือ หากไปตีชิด ทำฝ้าเพดาน (ชายคา) ด้านนอกบ้าน ก็จะดันจน เครื่องหลังคา มีปัญหาง่าย ต่างกับไม้สักหรือมะค่า ที่อ่อน/แข็ง แต่ยืดหดตัวน้อยกว่าครับ ยิ่งถ้าเป็น ตะเคียนทองแท้ (ต้องมีรอยมอดป่า) การยืดหดค่อนข้างน้อยมาก ครับ เอาไปทำวงกบละก็ ดีมากเลย

1.4) ไม้ตะเคียนทอง เป็นต้นไม้ใหญ่และสูงมากขึ้นเป็นหมู่ตามป่าดิบชื้นทั่วไป ลักษณะเนื้อไม้มีสีเหลืองหม่นสีน้ำตาลอมเหลืองมักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่าน เสมอ สีที่ผ่านนี้เป็นท่อน้ำมันหรือยาง เสี้ยนมักสับสนเนื้อละเอียดปานกลางแข็ง เหนียว ทนทาน ทนปลวกได้ดี เมื่อนำไปเลื่อย ใสกบตกแต่งและชักเงาได้ดีมาก น้ำหนักโดยเฉลี่ย 750 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ในการก่อสร้างอาคาร ไม้หมอนรางรถไฟ ไม้ชนิดนี้นิยมใช้ทำเรือมาก และยังใช้การได้ดีทุกอย่างที่ต้องการความแข็งแรง เหนียวและทนทาน

1.5) ไม้ตะแบก เป็น ต้นไม้สูงใหญ่ตอนโคนมีลักษณะเป็นพู ขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้นและแล้งทั่วไป ลักษณะเนื้อไม้สีเทาจนถึงสีน้ำตาลอมเทาเสี้ยนตรงหรือเกือบตรง เนื้อละเอียดปานกลาง เป็นมัน แข็งเหนียว แข็งแรงทนทานดีถ้าใช้ในร่มไม้ตากแดดตกฝนใช้ทำเสาบ้าน ทำเรือ แพ เกวียน เครื่องกสิกรรม ไม้ตะแบบชนิดลายใช้ทำเครื่องเรือนได้สวยงามมาก ใช้ทำด้ามมีด ไม้ถือ กรอบรูป ด้ามปืน เป็นต้น

1.6)ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือและบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก ลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองทองนานเข้าจะกลายเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแก่มีกลิ่น เหมือนหนังฟอกเก่าๆ และมีน้ำมันในตัวมักมีเส้นสีแก่แทรกเสี้ยนตรงเนื้อหยาบและไม่สม่ำเสมอ แข็งพอประมาณแข็งแรงทนทานที่สุดปลวกมอดไม่ทำอันตราย นำไปเลื่อย ไสกบตกแต่งง่าย แกะสลักได้ดี ชักเงาได้ง่ายและดีมากเป็นไม้ที่ผึ่งให้แห้งได้ง่ายและอยู่ตัวดี น้ำหนักโดยประมาณ 640 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไม้สักเป็นที่นิยมมากในการทำเครื่องเรือนทำบานประตูหน้าต่าง ทำเรือ แกะสลักต่างๆ ปริมาณที่ทำออกจำหน่ายยังมีมากพอสมควร ไม้สักเป็นไม้ที่เป็นสินค้าขาออกและเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก ไม้สักที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบันนี้ขึ้นอยู่ที่บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความสูง 51 เมตร วัดรอบต้นได้ 10.58 เมตร ใช้คนกางแขนโอบรอบต้นได้ไม่น้อยกว่า 8 คน กรมป่าไม้ได้ประมาณอายุต้นสักนี้ไว้ไม่น้อยกว่า 1,500 ปี

1.7)ไม้ชัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณขึ้นทั่วประเทศเว้นแต่ทางภาค เหนือ ลักษณะเนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนถึงแก่เสี้ยนตรงพอประมาณเนื้อหยาบและสับสนแข็งพอ ประมาณ เหนียวทนทานนำไปเลื่อย ไสกบตบแต่งได้ยาก บางครั้งเรียกว่า เต็งดง น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 961 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำหมอนรองรถไฟ ใช้ก่อสร้าง เช่น ทำโครงสร้าง ตง คาน โครงหลังคา พื้น

1.8)ไม้เคี่ยม เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงตรง ขึ้นชุกชุมในป่าดิบชื้นทางภาคใต้บางแห่งใหญ่ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ถึง 3 เมตร ลักษณะเนื้อไม้สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาล่อนอ ทิ้งไว้นานเป็นสีน้ำตาลแก่หรือเกือบดำ เสี้ยนค่อนข้างสั้นเนื้อละเอียดแข็ง เหนียว หนัก แข็งแรงมาก ใช้ในน้ำได้ทนทานดี นำไปเลื่อยไสกบตบแต่งได้ค่อนข้างง่ายน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 800 - 990 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรใช้ทำหมอนรางรถไฟโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรงมาก สะพาน แพ พื้น ใช้ในที่แจ้งทนแดดทนฝนดีมาก

1.9)ไม้มะค่าแต้ เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึงขนาดสูงใหญ่ขึ้นประปรายในป่าแดงและป่าเบญจพรรณแล้ว ทั่วไปลักษณะเนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแก่ เลื่อยทิ้งไว้นานสีจะเข้มขึ้น มีเส้นเสี้ยน ผ่านซึ่งมีสีแก่กว่าสี้พื้นเสี้ยนสับสนเนื้อค่อนข้างหยาบแต่สม่ำเสมอเป็นมัน เลื่อม แข็งและทนทานมากทนมอดปลวกได้ดี เลื่อยใสกบตกแต่งได้ยาก ถ้าตอกตะปูลงในแก่นไม้จะตอกไม้ยากและตะปูมักคดงอเพราะความแข็งแรงของไม้ น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1,090 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ทำไม้หมอนรางรถไฟทำเครื่องเกวียน เครื่องไถนา เครื่องเรียน เป็นต้น

1.10)ไม้ประดู่ เป็นไม้ต้นสูงใหญ่ ขึ้นในเบญจพรรณชื้นและ แล้งทั่วไปเว้นแต่ทางภาคใต้ มีชุกชุมทางภาคเหนือและภาคอีสานลักษณะเนื้อไม้สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอย่างสี อิฐแก ่สีเส้นเสี้ยนแก่กว่าสีพื้นบางทีมีลวดลาย สวยงามมาก เสี้ยนสับสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง แข็งและทนทาน ไสกบตบแต่งได้ดีและชักเงาได้ดีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ในการก่อสร้าง ทำเกวียนเรื่องเรือนที่สวยงามทำจากปุ่มประดู่ทำด้ามเครื่องมือและสิ่งอื่นๆ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน ในประเทศจีนและญี่ปุ่นนิยมใช้ทำเครื่องเรือนกันมาก

ไม้ประดู่ ส่วนใหญ่คือ ประดู่แดง หรือ ประดู่เหลือง ความแข็งใกล้เคียงกับไม้แดง แต่ยืดหดน้อยกว่า (ถามจากช่างไม้ และช่างทำวงกบมาหลายราย) แต่คนไม่ค่อยชอบ เพราะ สีบางครั้งออกเป็นจ้ำๆ (ไม่สวยเหมือนมะค่า) แต่ก็ไม่เรียบร้อย เหมือน ไม้แดง ตอนแรกๆ ก็เลยไม่เป็นที่นิยมกัน ... จนมาปิดป่าไม้แดง เมื่อหลายปี มานี่แหละครับ ไม้ประดู่ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักกัน อย่าง จริงจัง ครับ

2. ไม้เนื้อแข็งปานกลาง

มีหลายชนิดเช่นไม้ยางไม้กระบากหรือไม้กะบากไม้กระท้อน และอื่นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติและประโยชน์ที่ควรทราบดังต่อไปนี้

2.1) ไม้ยาง เป็น ต้นไม้สูงใหญ่ สูงชลูด ไม่มีกิ่งที่ลำต้น มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าดิบชื้น และที่ต่ำชุ่มชื้นตามบริเวณใกล้เคียงแม่น้ำลำธารในป่าดิบและป่าอื่นๆ ทั่วไป ต้นบางชนิดสามารถเผาเอาน้ำมันยางได้ (แต่เป็นคนละชนิดกับต้นยางพารา) ลักษณะเนื้อไม้สีแดงเรื่อหรือสีน้ำตาลหม่นเสี้ยนมักตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลางใช้ในร่มทนทานดีเลื่อยไสกบตกแต่งได้ดีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 650 - 720 กิโลเมตรต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป ทำหีบ ที่นิยมใช้กันมากคือใช้เป็นไม้ฝา ไม่คร่าว ฝ้าเพดาน คร่าวฝา

2.2)ไม้กระบากหรือไม้กะบาก เป็นต้นไม้สูงใหญ่ขึ้นปะปรายในป่าดิบชื้นและป่าเบญจพรรณชื้นทั่วประเทศ ทางพฤกษศาสตร์จะมีอยู่หลายชนิด แต่ในส่วนเนื้อไม้ และการใช้มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ใช้ร่วมกันได้ดีลักษณะเนื้อไม้โดยรวมมีสีตั้งแต่นวลเหลืองถึงน้ำตาลอ่อนแกม แดงเรื่อๆ เสี้ยนมักตรงเนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ แข็ง เหนียว เด้งพอประมาณ เลื่อยไสกบตกแต่งได้ไม่ยาก แต่มีข้อเสียคือเนื้อเป็นทรายทำให้กัดคมเครื่องมือ ผึ่งแห้งง่ายและไม่ค่อยเสื่อมเสีย น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 600 กิโลเมตรต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำแบบหล่อคอนกรีตได้ดีเพราะถูกน้ำแล้วไม่บิดงอหรือโค้ง ทำเครื่องเรือนราคาถูก ทำกล่องใส่ของเก้าอี้

2.3)ไม้ซุมแพรก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นประปรายตามป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออก เช่นทางอำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี และในภาคกลางบางแห่ง ลักษณะเนื้อไม้เมื่อเลื่อยหรือตัดใหม่ๆ จะเป็นสีแดงเข้มเมื่อทิ้งไว้ถูกอากาศจะเป็นสีน้ำตาลอมแดงเป็นมันเลื่อม เสี้ยนมักตรงและสม่ำเสมอ เป็นริ้วห่างๆ เหนียวแข็ง ใช้ในร่มทนทานดี เลื่อยใสกบตกแต่งได้ง่าย ชักเงาได้ดี น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 640 กิโลเมตรต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ก่อสร้าง เช่น ทำฟื้น ฝา

2.4) ไม้นนทรี เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ขึ้นในป่าดิบชื้นและป่าโป่รงชื้น ลักษณะไม้สีชมพูอ่อน ถึงน้ำตาลแกมชมพู เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นลูกคลื่น หรือสับสนบ้างเล็กน้อย เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อนผ่าไสกบตกแต่งได้ง่ายๆ น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 575 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำไม้พื้นเพดานและฝา ทำเครื่องเรือน หีบใส่ของต่างๆ

2.5)ไม้มะม่วงป่า เป็นต้นไม้ใหญ่ ขึ้นห่างๆกันในป่าดิบชื้นและป่าเบญจพรรณ หรือตามที่ชุมชื้นทั่วไป ลักษณะเนื้อไม้ไม่มีแก่นมากนัก สีน้ำตาลไหม้ เสี้ยนค้อนข้างตรง เนื้อเป็นมันเล็กน้อย แข็งเหนียว ใช้ในร่มทนทานดีเลื่อมใสกบง่ายน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 600 กิโลเมตรต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำเครื่องเรือน หีบใส่ของ ไม้บรรทัด ปอกออกมาเป็นแผ่นบางๆ ใช้ทำไม้อัด

2.6) ไม้กระท้อน เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นตามป่าดิบชื้นทั่วประเทศ ลักษณะเนื้อไม้สีแดงเรื่อๆ ปนเท่า เสี้ยนไม้ตรง เนื้อค่อนข้างหยาบ แข็งแรงปานกลาง ใช้ในร่มทนทานพอสมควร เลื่อนไสกบตบแต่งได้ง่ายขัดและชักเงาได้ ผึ่งให้แห้งได้ง่าย แต่หดตัวมาก ใช้ทำพื้น เพดาน เครื่องเรือน

3. ไม้เนื้ออ่อน

มีหลายชนิดเช่นไม้สยาขาว ไม้ก้านเหลือง ไม้มะยมป่า ไม้ต้นมะพร้าว ซึ่งคุณสมบัติและประโยชน์ที่ควรทราบต่อไปนี้

3.1) ไม้สยาขาว เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นตามไหล่เขา และบนเขาในป่าดิบทางภาคใต้บางจังหวัด เช่น ยะลา นราธิวาส ลักษณะเนื้อไม้สีชมพูอ่อนแกมขาวถึงน้ำตาลอ่อนแกมแดง มีริ้วสีแก่กว่าสีพื้นเป็นมันเลื่อมเสี้ยนสับสนเนื้อหยาบอ่อน ค่อนข้างเหนียว ทนทานในร่ม เลื่อย ไส ผ่าได้ง่าย น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 480 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำเครื่องเรือนและส่วนของอาคารที่อยู่ในร่ม เปลือกใช้ทำไม้อัดได้

3.2)ไม้ก้านเหลือง เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขึ้นตามริมน้ำแม่น้ำลำธาร หรือในที่ชุ่มชื้นทั่วไปลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองเข้มถึงสีเหลืองปนแสดเสี้ยน ตรงละเอียดพอประมาณ และอ่อน นำไปเลื่อยไสกบได้ง่ายชักเงาได้ดี น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 540 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำพื้น ฝา เครื่องเรือน หีบใส่ของ

3.3)ไม้มะยมป่า
เป็นไม้ขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ขึ้นประปรายในป่าดิบชื้นหรือป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป ลักษณะเนื้อไม้ไม่มีแก่นสีจากถ้าถูกอากาศนานๆ สีจะนวลขึ้น เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอและอ่อนไสกับได้ง่าย น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำก้านไม้ขีดไฟ กลักไม้ ขีดไฟ หีบใส่ของ ปัจจุบันใช้ทำเครื่องเรือนต่างๆ

3.4)ไม้ต้นมะพร้าว เนื้อมีความหนาแน่นใช้เป็นโครงสร้างได้ ความหนาแน่นตรงริมมีมากกว่าตรงกลางต้นตอนกลางๆ มีความหนาแน่น 400 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ตอนริมมีความหนาแน่นถึง 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ประโยชน์จากไม้ไผ่

ประโยชน์จากไม้ไผ่

ประโยชน์จากไม้ไผ่
  ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จาก ความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก





ประโยชน์จากไม้ไผ่



ไอเดียร์จากไม้ไผ่ สร้างอาชีพ

ไอเดียร์จากไม้ไผ่ สร้างอาชีพ

การนำไม้ไผ่ มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของ ให้ได้ดูเป็นไอเดียร์กันครับ บางท่านพอได้ดูแล้วอาจจะเกิดปิ้ง ไอเดียร์ ใหม่ ๆ เอาไปต่อยอดได้อีกเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักได้อีกนะครับ

ไม่ไผ่ใครคิดว่าทำอะไรได้บ้าง..??
คำตอบมีมากมายเกินคำบรรยาย เกินกว่าจะเขียนให้หมดได้
ส่วนการนำไม้ไผ่มาใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้เองว่า
จะนำมาประดิษฐ์ เป็นอะไร ทำเป็นอะไร
ไอเดียร์ใคร ไอเดียร์มัน
ย่อมแตกต่างกันไปครับ
แต่วันนี้ แค่จะหยิบยกตัวอย่างบางตอน
ของการนำไม้ไผ่ มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของ ให้ได้ดูเป็นไอเดียร์กันครับ
บางท่านพอได้ดูแล้วอาจจะเกิดปิ้ง ไอเดียร์ ใหม่ ๆ เอาไปต่อยอดได้อีก
เป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักได้อีกนะครับ
ลองเอาไปทำกันดูนะครับวัสดุก็หาง่ายอยู่แล้วครับ ไม้ไผ่บ้านเรามีเยอะแยะไปครับ
สร้างงาน,สร้างอาชีพได้ สร้างรายได้เข้ากระเป๋าตัวเองไว้ก่อนดีกว่า
ปล่อยเวลาให้มันเดินผ่านไปวัน ๆ ไม่ทำก็ไม่รู้นะครับ
ทำก่อนได้ก่อน ขายก่อนรวยกว่า คิดได้ก็ทำได้ รายได้ก็มาครับ พี่น้อง

อ่ายแป้บ


bamboo-1bamboo-2bamboo-3
bamboo-4bamboo-5bamboo-6
bamboo-7bamboo-8bamboo-9
bamboo-10bamboo-11bamboo-16
bamboo-13bamboo-14bamboo-15
bamboo-12