วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์จากไม้ไผ่

ประโยชน์ของไผ่
1.ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
        ไม้ไผ่ที่นำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย คุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องแปรรูปและแปรรูป และเป็นไม้ที่มีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี จึงมีการนำไม้ไผ่มาสร้างเป็นบ้านเรือนที่พักอาศัยกันทั่วไป เช่นเรือนไม้ไผ่ในประเทศไทยที่เรียกว่า “เรือนเครื่องผูก” ที่สร้างด้วยไม้ไผ่แทบทั้งหมด ตั้งแต่ใช้เป็นโครงสร้างและส่วนประกอบของบ้านเรือน ได้แก่ ใช้ลำไม้ไผ่เป็นเสา โครงหลังคา และใช้ไม้ไผ่แปรรูปด้วยการผ่าเป็นซีกๆ เป็นพื้นและสานเป็นแผงใช้เป็นฝาเรือน เป็นต้น
         ชาวชนบทที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนักมักสร้างเครื่องเรือนผูกเป็นที่อยู่ อาศัย เพราะสามารถสร้างได้เองโดยใช้ไม้ไผ่และวัสดุที่มีในท้องถิ่นของตนมาประกอบ กันเป็นเรือนที่พักอาศัย รูปแบบของเรือนเครื่องผูกจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่นโดยทั่ว ไปจะใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง
2.เครื่องมือเครื่องใช้
        งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนและชีวิตประจำวัน งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์มาช้านานและอาจจะเป็น เครื่องใช้ในครัวเรือนที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันออกนั้น มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่มาแต่โบราณ เช่น ตะเกียบไม้ไผ่ของจีน เป็นเครื่องมือการกินอาหารที่ทำอย่างง่ายๆ แต่ใช้ประโยชน์ได้อย่างดี ก่องข้าวและกระติบสำหรับใส่ข้าวเหนียวของชาวอีสานและชาวเหนือ เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นความชาญฉลาดในการนำไม้ไผ่มาแปรรูปเป็น ภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งได้ดีเท่าก่องข้าวและกระติบที่สานด้วยตอก
        นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเป่าไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟืน ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็นไม้ค้ำยันในการทำการเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็นหลักปักกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุใบชา ของป่าต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้าน
3.เครื่องมือประกอบอาชีพและเครื่องเรือน
        งานไม้ไผ่ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีใช้กันอย่างกว้างขวาง ในสังคมเกษตรกรรมของชาวเอเชีย เพราะไม้ไผ่เป็นวัสดุที่หาได้ไม่ยากและชาวบ้านสามารถทำใช้สอยได้เอง เฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาทำไร่จำนวนมากจึงทำมาจากไม้ไผ่ เช่นคราด คานหลาว คานกระบุง กระพ้อม ครุ (ครุหรือแอ่ว ของภาคเหนือใช้สำหรับตีหรือฟาดข้าว ให้เมล็ดข้างหลุดออกจากรวง เป็นเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด) เลื่อน วี โพง ฯลฯ
        นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเป่าไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟืน ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็นไม้ค้ำยันในการทำการเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็นหลักปักกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุใบชา ของป่าต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้านงานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องเรือนและเครื่อง ตกแต่ง งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในหลายประเทศ เช่น ทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน แม้บางชนิดจะดูเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ไม่มีราคามากนัก แต่ใช้ประโยชน์ได้ดีเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ เช่น คนไทยใช้ไม้ไผ่ทำแคร่ ทำเปลไว้นอนเล่นในฤดูร้อน เพราะแคร่และเปลไม้ไผ่นั้นโปร่ง อากาศผ่านได้จึงไม่ร้อนกล่าวกันว่า เมื่อครั้งที่พ่อค้าชาวดัชท์ (Datch) เข้ามาค้าขายในตะวันออกไกลครั้งแรก พวกเขารู้สึกประหลาดใจมากที่เห็นคนพื้นเมืองนอนอยู่บนเตียงไม้ไผ่ที่พื้น เตียงทำด้วยไม้ไผ่เป็นซีกๆ เปิดโล่งให้ลมผ่านได้ เตียงลักษณะนี้จะช่วยคลายร้อนได้มากในคืนที่มีอากาศร้อน เตียงชนิดนี้เป็นที่มาของคำว่า “bamboo princess” ต่อมากลายเป็นคำว่า ” Datch wife” เป็นคำที่รู้กันในหมู่ชาวตะวันออก เครื่องเรือนไม้ไผ่นั้นมีความงดงามที่เรียบง่าย แฝงแนวคิดและปรัชญาแบบตะวันออกด้วยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวญี่ปุ่นใช้ไม้ไผ่เป็นเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่งบ้านอย่างเห็นคุณค่ามา ช้านาน เช่นไม้ไผ่ทำเป็นฝาบ้าน รั้ว ประตูหน้าต่าง มู่ลี่ เป็นต้น
4.เครื่องดนตรีและอาวุธ
        งานไม้ไผ่ที่ทำเป็นเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ไผ่เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่อย่างหนึ่งของชาวเอเชีย เฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดนตรีที่ทำจากลำไม้ไผ่อย่างง่ายๆ ประเภท “ขลุ่ย” นั้นมีอยู่หลายประเทศ ได้แก่ ขลุ่ยไทย ขลุ่ยญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่เก่าแก่อีกประเภทหนึ่ง คือเครื่องดนตรีที่ใช้ตีลงบนไม้ไผ่อย่าง “ระนาด” ของไทยนั้นมีอยู่ในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเรียกว่า “kamelan” เครื่องดนตรีทำจากไม้ไผ่ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ อังกะลุง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เสียงกระทบกันของไม้ไผ่ที่มีขนาดต่างกัน ทำให้เกิดเสียงต่างกัน อังกะลุง นับเป็นเครื่องดนตรีที่เกิดจากคุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่อย่างแท้จริง
         งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นอาวุธ งานไม้ไผ่ประเภทนี้ ทำขึ้นจากคุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่ ที่มีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวตลอดลำจึงทำให้มีเนื้อเหนียวไม่หักง่ายและมีแรงดีด คืนตัว ชาวเอเชียจึงใช้ไม้ไผ่เป็นคันกระสุน คันธนู และลูกธนู ซึ่งมีทำกันในหลายประเทศ เช่น ธนู ลูกธนูของญี่ปุ่นและเกาหลี เป็นอาวุธที่ทำจากไม้ไผ่ที่ใช้ความประณีตในการคัดเลือกไม้ที่มีคุณภาพและ ต้องใช้ช่างที่มีฝีมือสูงในการเหลาและตัดไม้ไผ่ให้เป็นคันธนูหรือคันหน้าไม้ เพื่อดีดลูกธนูหรือลูกศรเช่นเดียวกัน อาวุธที่ทำจากไม้ไผ่ของไทยที่ใช้กันแพร่หลายชนิดหนึ่งคือ กระสุน ซึ่งคันกระสุนทำด้วยไม้ไผ่แก่เนื้อดี นำมาเหลาและดัดให้ได้รูปทรงและมีขนาดเหมาะตามความต้องการ กระสุนจะใช้ยิงด้วยกระสุนที่ปั้นด้วยดินเหนียวเป็นลูกกลมขนาดประมาณเท่าหัว แม่มือ กระสุนเป็นอาวุธโบราณอย่างหนึ่งที่ใช้ยิงคนและยิงสัตว์ต่างๆ ที่ใช้กันทั่วไปในขนบท นอกจากนั้นยังนำไม้ไผ่มาทำเป็นอาวุธ จำพวกลูกดอกและลำกล้องเป่าลูกดอก ใช้เป็นไม้กระบอง ไม้ตะพดจนถึงการนำไม้ไผ่มาปาดให้แหลมเป็นปากฉลามที่เรียกว่า “ขวาก” ใช้ดักคนหรือสัตว์ที่รุกล้ำเข้ามาในเขตหวงห้าม เป็นต้น
5.พิธีกรรมและความเชื่อ
         งานไม้ไผ่ที่ใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อไม้ไผ่มีความสัมพันธ์กับความ เชื่อของชาวเอเชียมาช้านาน โดยเฉพาะชาวจีนและญี่ปุ่นนั้น ไผ่เป็นไม้มงคลและเป็นสัญลักษณ์ของความแหลมและเจริญงอกงามของสติปัญญาดุจ เดียวกับความแหลมคมของหนามไผ่ หน่อไผ่และการเติบโตอย่างรวดเร็ว
           สำหรับคนไทยนั้น ไม้ไผ่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น คนไทยโบราณมักสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาวินาทีแรกที่เรียกว่า ตกฟาก นั้นเพราะทารกตกลงบนพื้นเรือนที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่สับเป็นซี่ๆ ที่เรียกว่า “ฟาก” นั่นเอง
          หลังจากนั้น เมื่อถึงเวลาตัดสายสะดือหมอตำแยก็ใช้ไม้ไผ่มาผ่าเป็นซีก แล้วรนไฟ เพื่อใช้ตัดสายสะดือทารก แทนการใช้เหล็กหรือของมีคมอื่นๆ ความเชื่อนี้มีอยู่ทั่วไปในหลายประเทศในเอเชีย หลังจากตัดสายสะดือแล้วคนไทยจะนำเด็กนอนไว้ใน “กระด้ง” ซึ่งสานด้วยไม้ไผ่คลุมด้วยแหและเพื่อป้องกันผีร้าย สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อเกี่ยวกับไม้ไผ่ที่มีมาช้านาน  เมื่อเกิดอยู่นานร่างกายชราภาพก็ต้องใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นไม้เท้า ครั้นถึงเวลาตายก็ต้องนำศพไปวางบนแคร่ไม้ไผ่ เวลาเผาศพ ก็ต้องตัดไม้ไผ่ลำตรงๆ สดๆ สำหรับแทงศพกลับไปกลับมาเพื่อให้ไหม้ให้หมด เรียกไม้ไผ่ชนิดนี้ว่า “ไม้เสียบผี”ประเพณีค้ำโพธิ์ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ในตอนเช้าชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายเล่นกีฬา และช่วยกันเอาไม้ไผ่ลำโตๆ มาค้ำกิ่งโพธิ์ตามวัดไม่ให้กิ่งโพธิ์หัก ถือว่าได้บุญแรงและเชื่อกันว่าจะมีอายุยืน ประเพณีแห่บั้งไฟของชาวอีสาน จะนำไม้ไผ่ลำโตๆ
แหล่งข้อมูล: http://www.culture.go.th/knowledge/story/bamboo/bamboo.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น