วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554


ประวัติของข้าวไทย -:-
     ในประเทศไทย เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่รอยแกลบข้าวซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทาตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เก่าแก่ที่สุดคือประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ อาทิ เมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือราว 5,400 ปีมาแล้ว แกลบข้าวที่พบที่ถ้ำปุงฮุง มีทั้งลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่เจริญงอกงามอยู่ในที่สูงเป็นข้าวไร่และข้าวเจ้า แต่ไม่พบลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดป้อม หรือข้าวพวก Japonica เลย
แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีพบรอยแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่นำมาปั้นภาชนะดินเผากำหนดอายุได้ใกล้เคียงกับแกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุง คือประมาณ 3,500-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชลักษณะเป็นข้าวเอเชีย (Oryza sativa) พวกเมล็ดป้อมพันธุ์ Japonica
     หลักฐานการค้นพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอยแกลบบนเครื่องปั้นดินเผาที่โคกพนมดีอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังพบหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าเมืองไทยที่ถ้ำเขาทะลุ จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ 2,800 ปี (อาจจะก่อนหน้าหรือหลังจากนั้นประมาณ 300 ปี) ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้น
ส่วนหลักฐานภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหินอายุไม่น้อยกว่า 2,000 ปี ที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนข้าว ภาพควายแปลงพืชคล้ายข้าวอาจตีความได้ว่ามนุษย์สมัยนั้นรู้จักข้าวหรือการเพาะปลูกข้าวแล้วศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี สรุปไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2535 ว่าประเทศไทยทำนาปลูกข้าวมาแล้วประมาณ 5,471 ปี (นับถึง ปี พ.ศ. 2514) ก่อนการปลูกข้าวในประเทศจีนหรืออินเดียราว 1,000 ปี ผลของการขุดค้นที่โนนนกทาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าข้าวเริ่มปลูกในทวีปเอเชียอาคเนย์ในสมัยหินใหม่ จากนั้นแพร่ขึ้นไปที่ประเทศอินเดียประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี
http://kpspstaff.awardspace.com/kpsp_rice/rice003.html
 




 History of Thai rice - -.
     In Thailand, rice is the oldest cultivated Oryza accessions of a community that resembles the prehistoric age, about 3500-3000 BC. Roy has a mixture of ground rice husk, which is used to make pottery at Non Nok Tha, Ban Khok Phu Wiang, Khon Kaen. Evidence is generally accepted that the oldest is about 3,500 years BC.
Other evidence showing that Siam is a traditional rice-growing areas such as grain, excavated at the cave, Pung Hung. Mae Hong Son province. Show that rice cultivation in this area at 3500-3000 BC, about 5400 years ago, rice husk, which was found at the cave, Pung Hung. The sticky nature of the seeds that grow in the high upland rice and rice flour. But none of the rice grain Japonica rice, fortified or not.
Archaeological site at Ban Chiang in Udon Thani find hundreds of rice husk mixed with clay to make pottery, rice husk, an age close to the cave, Pung Hung is around 3500-2000 BC as Asian rice (Oryza. sativa) varieties are fortified grain Japonica.

     Found evidence of the grain. In soil and rice husk ash marks on the pottery at Khok Phanom Di Phanat Nikhom. Chonburi. Demonstrate the rice prehistoric coastal communities. There is also evidence that the cave-like flowers in their wild relatives through Kanchanaburi province, about 2800 years old (may be earlier or later, about 300 years), a joint session with the late Neolithic era, the beginning of metal.
The evidence on the cave wall paintings or wall not less than 2,000 year old stone pillow at Ban Ta Kum Pa Huai Phai Khong Chiam. Ubon Ratchathani. I planted one grain. Looks like rice. Crops like rice buffalo converts the image may be interpreted as a man known for his cultivation of rice or rice to Professor Shin-being concluded in 2535 that Thailand's rice farm, about 5471 years (until May last year Founded in 2514) before planting rice in China or India some 1,000 years of excavations at Non Nok Tha, support the hypothesis that rice cultivation in Southeast Asia in the Neolithic. Then spread to India, China. Japan And Korea.
http://translate.google.co.th/#

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น